top of page

Shop Your Favorite All Products.

RED VITA RICE / SUNG YOD RICE.

RED VITA RICE / SUNG YOD RICE.

$1,770.00Price

Red rice is a variety of rice that is colored red by its anthocyanin content. It is usually eaten unhulled or partially hulled, and has a red husk, rather than the more common brown. Red rice has a nutty flavor. Compared to polished rice, it has the higher nutritional value of rices eaten with the germ intact. 

 

ข้าวสังข์หยด พัทลุง

พันธุ์ข้าวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริเมื่อปี พ.ศ. 2543 ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ในพื้นที่แปลงนา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปยังฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ครั้งนั้น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด ซึ่งทรงนำมาเสวย ทรงรับสั่งว่าอร่อย ทรงโปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาปลูกใหม่เพื่อเผยแพร่ และรักษาพันธุ์ข้าว ต่อมาในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ทรงโปรดให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด เผยแพร่กับประชาชนที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และในปีนี้ (2548) ศูนย์ศิลปาชีพได ้นำข้าวสังข์หยดมาแนะนำ และเผยแพร่ ในงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพใน วันที่ 15-31 กรกฎาคม นี้ จังหวัดพัทลุง เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของชาวใต้มาแต่โบราณ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ เพื่อเลี้ยงคนในพื้นที่และจังหวัดต่างๆในภาคใต้ ด้วยเหตุแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางด้าน ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งปลูกฝังคู่กับเมืองพัทลุงมาเป็นเวลานาน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้หลากหลายพันธุ์ จึงมีถิ่นกำเนิดจากเมืองพัทลุงแห่งนี้ ข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวพื้นเมืองภาคใต้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเพาะปลูกเมืองพัทลุง จากเอกสารหลักฐานบัญชีรายชื่อข้าวที่รวบรวมจากท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ โดยกองบำรุงพันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ได้รวบรวม และปรากฏชื่อ ข้าวสังข์หยด ใน locality No. ที่ 81 เมื่อปี พ.ศ. 2495 – 2496 เก็บจากอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมานาน ไม่ต่ำกว่า 50 ปี และปัจจุบันยังคงปลูกอยู่ในจังหวัดพัทลุงข้าวพันธุ์สังข์หยดมีลักษณะแตกต่างจากข้าวพันธุ์อื่น คือ ข้าวสารหรือข้าวกล้องที่มีเหยื้อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม ในเมล็ดเดียวกันเมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัวลง ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่มอร่อยแล้วยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวอื่นๆ เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง โดยเฉพาะ ไนอาซีน มีมากถึง 3.97 มิลิกรัม ซึ่งมีน้อยในข้าวสายพันธุ์ อื่นๆ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการคัด เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมของข้าวสังข์หยด และศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 พัทลุง ทำการขยายพันธุ์ในแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ เพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการ ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ให้เกษตรกรในเขตจังหวัดพัทลุงในปี 2548 นวทางในการจัดจำหน่าย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในร้านสุวรรณชาด และซุปเปอร์สโตร์ชั้นนำในกรุงเทพมหานครตลอดจน ร้านอาหารสุขภาพต่างๆ การส่งเสริมข้าวสังข์หยดให้เป็นข้าวเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง จึงเริ่มดำเนินการ ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ ที่เพิ่มคุณค่า และตรงกับความต้องของตลาดภายใน และต่างประเทศ ละด้วยคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้าวพันธุ์สังข์หยดจึงจัดอยู่ในระดับตลาดข้าว คุณภาพดีพิเศษได้

ข้าวสังข์หยดพัทลุง "ข้าวจีไอ" พันธุ์แรกของไทย

พันธุ์ข้าวเลื่องชื่อของภาคอีสานต้องยกให้ "ข้าวหอมมะลิ" แต่สำหรับภาคใต้แล้ว ชื่อชั้นของ "ข้าวสังข์หยด" กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้องที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้าน

ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดพัทลุงที่มีการปลูกและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นมานาน หลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเป็นข้าวนาสวนที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี และที่สำคัญเมื่อหุงสุกแล้ว ข้าวสังข์หยด จะมีความอ่อนนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ทำให้ย่อยง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่ใช้แรงงานหนัก ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ ปลอดภัยจากสารพิษ จึงทำให้มีการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกสู่ตลาดกันมากขึ้น"ข้าวสังข์หยด" เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง มากขึ้นตามลำดับเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ข้าวสังข์หยดพัทลุงยังได้รับคำประกาศรับรองให้เป็น "สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" หรือข้าวจีไอ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่ง บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง "นับเป็นข้าวจีไอพันธุ์แรกของประเทศไทยซึ่งชาวนาพัทลุงต่างภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รักษามรดก ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ได้จนถึงวันนี้ และได้รับการคุ้มครองสิทธิให้แก่ชุมชนผู้ผลิต ข้าวสังข์หยดในจังหวัดพัทลุง

ขณะนี้มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเพิ่มมากขึ้น คาดว่าในปีนี้จะมีการปลูกประมาณ 15,000 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 450-500 กิโลกรัม ในฤดูกาลผลิต 2550/51 ที่จะถึงนี้ จังหวัดพัทลุงได้ตั้งเป้าผลิต ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 19 กลุ่ม จำนวน 371 ราย ซึ่งจะเป็นเกษตรกรจากอำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน เขาชัยสน ควนขนุน และบางแก้ว คาดว่าจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันข้าวเปลือก มีมูลค่าถึง 10 ล้านบาท โดยเกษตรกร จะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ และเก็บเกี่ยวราวต้นปี 2551 สำหรับรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง หรือข้าวจีไอนั้น เกษตรกรจะต้องรวมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต และขึ้นทะเบียนสมาชิกไว้ รวมทั้งยอมรับเงื่อน ไขการตรวจรับรองการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และปฏิบัติตาม ขั้นตอนการผลิตตามระบบจัดการคุณภาพ (GAP ข้าว) โดยจะมีการบันทึกการปฏิบัติทุกขั้นตอน ที่สำคัญจะต้องมีการตรวจประเมินรับรองแหล่งผลิตก่อน จึงจะถือว่าผลผลิตที่ได้เป็น ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงของจริง กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยดจึงมีวิธีการ และขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากสมราคา แต่คาดว่าผลตอบแทนด้านชื่อเสียงของสินค้า และรายได้จะคุ้มค่าให้แก่เกษตรกรชาวพัทลุงที่ต้องลง ทุนลงแรงรักษาข้าวพันธุ์ไทยแท้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์

  • The product of rice

          The product of rice which are currently available to supply consists of 5 different type of rice.

                 Jasmine Rice (All strains) 

                 White Rice (All strains) 

                 Glutinous Rice (All strains) 

                 Value Added Product, such as, Quick Brown Rice, Vitamin Plus Rice, Jasmine Green Tea Rice. 

                 Particular species of rice, such as, Basmati rice and Japonica Rice.

  • SUNG YOD RICE

    ลักษณะเด่น

    ข้าวสังข์หยดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม ข้าวกล้องมีสีแดง เพราะมีแอนโทไซยานินอยู่ในเยื่อชั้นนอกของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือเมื่อขัดสีบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่ลักษณะขุ่นขาว เมื่อหุงสุกจะนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่ เมื่อเย็นลงจะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

    คุณค่าทางโภชนาการ

    • มีวิตามินบีสูง วิตามินบี1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาและโรคอัมพฤกได้ วิตามินบี2 ช่วยในการป้องกันโรคปากนกกระจอก
    • มีปริมาณสังกะสีสูงที่สุด และให้พลังงานต่ำที่สุด
    • สารสีแดงเป็นรงควัตถุประเภทฟลาโวนอยด์ชนิดมีสารแอนโทไซยานินอยู่ในเยื่อชั้นนอกของข้าวมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี ชะลอความชรา และลดความเสี่ยงการเป็นโรคต่างๆ เช่น ป้องกันโรคหัวใจ และโรคระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
    • สารต้านอนุมูลอิสระ พวก oryzanol เป็นกลุ่มวิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอล กลุ่มโทโคไตรอีนอลและสารแกมมา-โอริซานอล(Gamma Oryzanol) เป็นสารที่พบในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวเท่านั้น ช่วยชะลอความชรา
    • สาร Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
    • มีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลตัวที่เลว LDL และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลตัวที่ดี HDL ในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
    • มีสารไนอะซินสูง ช่วยในเรื่องของระบบประสาทและผิวหนัง
    • มีสารแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยในการป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
    • มีฤทธิ์ในการลดความเครียด
    • รักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง

    กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยด

    • พื้นที่การผลิตอยู่ในจังหวัดพัทลุง เกษตรกรต้องปฏิบัติตามคู่มือสำหรับการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยผลิตข้าวในระบบ GAP และ/หรือระบบอินทรีย์
    • การแปรรูป ผลผลิตข้าวเปลือกสีแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง และข้าวสาร โดยโรงสีข้าวในจังหวัดพัทลุง
    • การบรรจุหีบห่อ รายละเอียดบนฉลากระบุชื่อ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ให้ระบุน้ำหนักและวันที่บรรจุ

    ความสัมพันธุ์ระหว่างสิ้นค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์

    เมืองพัทลุงนิยมปลูกข้าวและบริโภคข้าวหนักมากกว่าข้าวเบา คนพัทลุงส่วนมากไม่รับประทานข้าวเบา แต่จะเก็บข้าวเบาไว้ในโอกาสพิเศษ ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เบา ปลูกกันมานานกว่า 100 ปี ผลผลิตจะเก็บไว้เพื่อเป็นของกำนัลแก่ผู้ใหญ่ที่นับถือ ใช้หุงต้มเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงแขกพิเศษในงานบุญ แขกบ้านแขกเมืองหรือเจ้านายปกครองบ้านเมิอง มีประเพณีถิอปฏิบัติโดยการนับถือแม่โพสพ ซึ่งถือเป็นเทพีประจำข้าวต้องทำพิธี “ขวัญแม่โพสพ” หรือทำขวัญข้าว รวบข้าว การทำขวัญแม่โพสพจะมีบทสวดที่มีรายชื่อข้าวพันธุ์ต่างๆ ซึ่งข้าวพันธุ์สังข์หยดก็มีรายชื่ออยู่ในบทสวดเช่นกัน โดยพิธีการทำขวัญแม่โพสพทำอีกครั้งเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเข้ายุ้งฉางอีกครั้ง หรือไปทำรวมกันที่วัดเรียกว่า “ขวัญข้าวใหม่”

bottom of page